วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ค่าใช้จ่ายที่จะนำมาเครดิตภาษีซื้อ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ

ค่าใช้จ่ายที่จะนำมาเครดิตภาษีซื้อ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ

 1. ค่าน้ำมันรถ
  •  ต้องนำมาใช้กับรถของกิจการหรือรถที่ได้ทำสัญญาเช่าใช้หรือยินยอมให้ใช้ เท่านั้น 
  • ต้องมีการบันทึกเลขทะเบียนรถที่เติมน้ำมันไว้ในใบกำกับภาษี ด้วยลายมือของเด็กปั๊ม 
  • ค่าน้ำมันรถกระบะเชิงพาณิชย์, จักรยานยนต์ หรือรถยนต์นั่งเกิน 10 ที่นั่ง เท่านั้น ที่สามารถนำมาเครดิตภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดีเซล(โซล่า) หรือน้ำมันเบนซิน(แก๊สโซฮอล์) แต่ถ้าเป็นรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ไม่ว่าจะใช้น้ำมันดีเซลหรือเบนซินก็ไม่สามารถเครดิตภาษีได้ 
  • ใบกำกับภาษีซื้อที่จะนำมาใช้เครดิตภาษีซื้อได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีซื้อแบบเต็มรูปแบบเท่านั้น แบบอย่างย่อไม่สามารถนำมาใช้เครดิตภาษีได้ 
  • กรณีที่ใบกำกับภาษีซื้อแบบเต็มรูปแบบที่เป็นกระดาษ Thermal (กระดาษความร้อน) เมื่อผ่านช่วงเวลาสักระยะข้อมูลจะจางหายไปหมด ดังนั้นไม่ความนำมาใช้ แม้ว่าจะมีนำมาถ่ายเอกสารก่อน สรรพากรก็ไม่ยอมเพราะว่า ใบกำกับภาษีที่นำมาเครดิตนั้นต้องเป็นใบกำกับภาษีตัวจริงเท่านั้น หากว่าใบกำกับภาษีตัวจริงจางหายไป ก็ต้องขอให้บริษัทผู้ออกใบกำกับภาษีนั้นๆ ถ่ายสำเนาจากต้นฉบับแล้วทำการรับรองว่าเป็น ใบแทนใบกำกับภาษี ที่ออกให้กับ ...........เนื่องจาก ................. เมื่อวันที่ ........... พร้อมเซ็นชื่อประทับตราของผู้ออกใบกำกับภาษี จึงจะสามารถนำมาใช้ได้ 
  • ใบกำกับภาษีที่จะนำมาใช้เครดิตภาษี ต้องมีข้อความครบถ้วน ม.86/4 ทั้ง 8 ข้อ ตามที่ประมวลรัษฎากร ได้กำหนดไว้ จึงจะนำใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวมาเครดิตภาษีได้ แต่หากว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนแล้ว แต่ไม่นำมาเครดิตภาษีซื้อ ก็จะทำให้กลายเป็นภาษีซื้อไม่ขอคืน ผลก็คือ จะกลายเป็น ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ที่จะต้องนำมาบวกกลับ เพื่อเสียภาษีเพิ่มเติม แต่หากใบกำกับภาษีนั้นมีข้อความไม่ครบถ้วน 8 ข้อ ตามข้างต้น ก็สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน
 ข้อความที่กำหนดให้มีปรากฏอยู่ในใบกำกับภาษีทั้ง 8 ข้อ ได้แก่ 1. 
  1. คำว่า “ ใบกำกับภาษี “ 2. 
  2. ชื่อ – ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย 3. 
  3. ชื่อ – ที่อยู่ของผู้ซื้อ (ในที่นี้คือ บจ. แบริ่งฯ ) 
  4. เลขที่ใบกำกับภาษี 5. 
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า/บริการ 6. 
  6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการ แยกออกมาให้ชัดเจน 7. 
  7. วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษี 8. 
  8. อื่นๆ ตามอธิบดีกำหนด 
ต้องมีการจัดทำบันทึกการเดินทางของรถแต่ละคันในแต่ละวันว่าใช้ในการใดบ้าง เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งของสรรพากร

 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถ

  •  ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถได้แก่ ค่าซ่อมบำรุงดูแลรถ , ค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ฯลฯ , 
  • ค่าเบี้ยประกันภัยรถ ฯลฯ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถที่จะสามารถนำมาเครดิตภาษีได้จะต้องเป็นรถกระบะเชิงพาณิชย์ , จักรยานยนต์ , รถยนต์นั่งเกิน 10 ที่นั่ง เท่านั้น หากเป็นรถยนต์ ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีได้ทุกกรณี 
  • ค่างวด,ค่าผ่อนรถ,ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับรถกระบะ, จักรยานยนต์ รถยนต์นั่งเกิน10ที่นั่ง เท่านั้นที่สามารถนำมาเครดิตภาษีได้ 
  • กรณีซื้อยางรถ ให้ร้านที่ซื้อบันทึกเลขทะเบียนรถด้วย

ที่มา: http://www.thaitaxinfo.com

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการยื่นแบบประกันสังคมและตัวอย่าง


1. กรณีมีพนักงานเข้าทำงานใหม่ จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1.1 กรณีไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้ยื่นแบบ สปส.1-03 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัว
ประชาชน (พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
1.2 กรณีเคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน (ไม่ว่าทางประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิให้
แล้วหรือไม่ก็ตาม) ให้ยื่นแบบ สปส. 1-03/1 เท่านั้น
***หมายเหตุ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
หลักการนำส่ง สปส.1-03 และ สปส. 1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สปส. 1-03 → แนบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน → พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
(รวมเรียกว่า 1 แผ่น)
2. สปส. 1-03/1 (รวมเรียกว่า 1 แผ่น )
3. ปะหน้าด้วย สปส.1-02 แล้วรวมจำนวนแผ่นที่นำส่งประกันสังคม
4. ส่งให้ นายจ้าง / ผู้รับมอบอำนาจ → เซ็น → พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
2. กรณีพนักงานลาออก ให้ยื่นแบบ สปส. 6-09
3. กรณีพนักงานขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ และหรือขอแก้ไขบัตร ให้ยื่นแบบ สปส.9-02
(ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ประจำปีได้ในวันที่ 1 ม.ค – 31 มี.ค ของทุกปี )
4. กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ให้ยื่นแบบ กท.16 และ กท.44
5. กรณีขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม ให้ยื่นแบบ สปส.2-01
ข้อกำหนดของประกันสังคม
- กรณีนำส่ง สปส. 1-03 และ สปส. 1-03 / 1 ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันภายใน 30 วัน นับแต่
วันที่รับลูกจ้างเข้า ทำงาน มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน
20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีนำส่ง สปส. 6-09 ให้แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้
ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ